วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week8: แนะนำการใช้งานโปรแกรม Shazam

เพื่อนๆเคยประสบปัญหา เวลาฟังเพลงเพราะๆ แต่ไม่รู้ชื่อเพลง อยากรู้ชื่อเพลง แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอไหมคะ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป แค่เราใช้แอพ ''shazam''
          เพื่อนๆคงอยากรู้แล้วใช่ไหมคะ ว่าแอพตัวนี้หน้าตาเป็นยังไงและมีวิธีการใช้งานยังไง เพราะฉะนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ
  ก่อนอื่นเลยนะคะ เราต้องโหลดแอพนี้ก่อน เข้าไปที่แอพสโตร์ หรือ คนที่ใช้แอนดรอยด์ก็สามารถเข้าไปโหลดได้ค่ะ


หลังจากที่โหลดแอพนี้เสร็จแล้วนะคะ เราเข้าไปดูข้างในแอพกันเลยดีกว่าค่าา




นี่ก็คือหน้าแรกของแอพนะคะ 
หน้าแรกของแอปก็จะประกอบด้วยปุ่ม shazam เที่ยวไว้ค้นหาชื่อเพลงที่เราต้องการ และนอกจากนี้แล้วยังมีลำดับเพลงบอก ว่าตอนนี้กำลังมีเพลงอะไรที่กำลังฮอตฮิต



    ถ้าเพื่อนๆเจอเพลงที่ไม่รู้จัก แล้วอยากรู้จักชื่อเพลง เพื่อนๆสามารถกดปุ่มสีน้ำเงิน ที่มีสัญลักษณ์shazam ได้เลยค่ะ โปรแกรมจะทำการฟังและบอกชื่อเพลงให้กับเรา


ส่วนรายชื่อเพลงที่เราใช้แอพนี้ค้นหา เพื่อนๆไปไม่ต้องกลัวนะคะว่ามันจะหายไปไหนเพราะมันจะถูกเก็บรวบรวมใน my shazam ค่ะ



   นอกจากที่กล่าวมาแล้วนะคะแอพนี้ยังสามารถให้เราติดตามศิลปินที่เราชื่นชอบ โดยการกดปุ่ม follow และสามารถกดไลค์เพลงที่เราชื่นชอบได้อีกด้วยค่ะ



   และปุ่มสุดท้ายเลยนะคะ ''trending'' ในหน้านี้จะเป็นการรวบรวม บอกลำดับเพลงที่กำลังฮอตฮิต โดยจัดเป็นหมวดหมู่อย่างละเอียดเลยค่ะ 


นี่ก็เป็นการแนะนำการใช้แอพนี้อย่างคร่าวๆนะคะ ถ้าเพื่อนๆอยากจะ รู้จักแอปนี้มากขึ้นเพื่อนๆ อย่าลืมโหลดมาใช้กันนะคะ คิมคิดว่าเพื่อนๆควรจะมีแอพนี้ติดเครื่องไว้นะคะ เพราะปัญหาเวลาเราฟังเพลงแล้วอยากรู้ชื่อเพลงแต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอจะหมดไปเลยค่ะ วันนี้คิมก็ขอลาไปก่อน ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนนะคะที่เข้ามาติดตามบล็อกของคิม ขอบคุณมากค่าาาาาา

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 7 : คอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์กันดีกว่าค่ะ 

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับและของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม







เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำหน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน



ขอบคุณ ที่มา
https://th.m.wikipedia.org/wiki/คอมพิวเตอร์
https://th.m.wikipedia.org/wiki/เครือข่ายคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week6 : วิเคราะห์ข้อสอบ O-NET วิชาคอมพิวเตอร์ 5 ข้อ

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพาประเภท  Smartphone.
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian
เฉลยข้อ  1
อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียนการพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltdซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา(ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"


2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร.
1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie)
เฉลยข้อ  3

HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง 

3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาตให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง.
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้

1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค      2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค
3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว     4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว
เฉลยข้อ  1

     Open Source คือ ตัวโปรแกรม ซอฟต์แวร์ ที่เกี่ยวกับ การออกแบบและพัฒนา วัตถุประสงค์หลักคือ เป็นตัวโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานและอาจพัฒนาตัวโปรแกรมต่อได้ ส่วนใหญ่ Open Source จะเป็นโปรแกรมที่แจกฟรี จึงกลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและรวดเร็วสำหรับในบ้านเรา ที่นิยมใช้งาน 
     Open Source นั้น มีตั้งแต่เว็บในกลุ่มที่จัดทำโดยบุคคล เช่นพวก เว็บแฟนคลับ เว็บ community ต่างๆ 
ไปจนถึงเว็บในรูปแบบบริษัท องค์กร ห้างร้าน ส่วนตัวโปรแกรม Open Source ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ 
Joomla ต่างๆ Word Press Drupal PHP nuke SMF PHPbb เป็นต้นค่ะ




4.อุปกรณ์ข้อใดคือหน่วยประเมินผลกลางของคอมพิวเตอร์
.เฉลย  CPU
CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์

5.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัมนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถ
บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเลคโทรนิกส์โดยไม่ต้อง
เขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
1.  Smart  Card          2.  Fingerprint

3. Barcode.                 4.  WiFi
เฉลยข้อ  3
(
bar code) เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ได้ผลดี ในการตรวจสอบสินค้าขณะขาย, การตรวจสอบยอดการขาย และสินค้าคงคลัง เราสามารถที่จะอ่านบาร์โค้ดได้ โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ ( barcode scanner ) หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งวิธีนี้จะรวดเร็วกว่าการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ( Computer ) โดยเปลี่ยนเป็นวิธีการยิงเลเซอร์ไปยังแท่งบาร์โค้ด โดยเครื่องสแกนจะทำหน้าที่เป็นฮาร์ดแวร์ ( hardware ) ส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีการประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของMobile Computer ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บ แสดงผล ตรวจสอบ และประมวลในด้านอื่นๆ หรือบางครั้งสามารถอ่านด้วยสายตา เช่น ตัวเลขที่พ่วงกับแท่งบาร์โค้ดบางครั้งจะอยู่ด้านบน หรือ ด้านล่าง (แต่สายตาไม่สามารถอ่านแท่งบาร์โค้ดได้)